วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สาระน่ารู้ของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ




สาระน่ารู้ของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ มีดังนี้
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพเป็นยุทธวิธีอย่างหนึ่งที่จะส่งเสริมสุขภาพป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสภาพร่างกายที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพ สามารถปฏิบัติได้ทุกคนและทุกสภาพร่างกาย ถ้าปฏิบัติไม่ถูกวิธีและไม่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย ก็อาจเป็นอันตายต่อสุขภาพและร่างกายได้เช่นกันฉะนั้นจึงควรคำนึงและเรียนรู้ว่าการออกกำลังกายนานและหนักเท่าไร จึงจะพอเพียงที่จะให้ผลดีต่อสุขภาพการออกกำลังกายที่จะมีผลต่อสุขภาพนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรัสว่า“การออกกำลังกายนั้น ทำน้อยเกินไปร่างกายและจิตใจก็จะเฉา และทำมากเกินไปร่างกายและจิตใจก็จะช้ำ” ดังนั้นการออกกำลังกายควรทำให้พอดี โดยยึดหลัก 3 ประการ คือความบ่อย ควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละครั้งความหนัก ควรออกกำลังกายให้มีอาการเหนื่อย หอบ แต่สามารถพูดคุยได้ ถือว่าหนักหรือเหนื่อยพอดีความนาน เพียงครั้งละอย่างน้อย 20-30 นาที
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการออกกำลังกาย เช่น เดินเร็ว ต้องใช้เวลานานกว่าวิ่งเหยาะ และวิ่งเหยาะใช้เวลานานกว่ากระโดดเชือก และยังขึ้นกับร่างกายของท่านว่า มีความแข็งแรงที่จะออกกำลังกายได้นานเพียงใดประโยชน์ของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพประโยชน์ที่ได้รับจากการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและเหมาะสม จะทำให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง สามารถป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสภาพร่างกายได้
โดยทั่วไปแล้วจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย คือสุขภาพทั่วไปแข็งแรง การเจริญเติบโตในวัยเด็กจะดีช่วยให้สูงขึ้นเลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น ความคิดแจ่มใส หัวใจและปอดแข็งแรงขึ้นความดันโลหิตลดลง เส้นเลือดมีขนาดใหญ่ขึ้น โอกาสจะถูกอุดตันน้อยลงลดระดับไขมันในเส้นเลือด. ป้องกันโรคเบาหวานได้ ชีพจรลดลงลดและช่วยแก้อารมณ์เศร้า, ความเครียด ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายดีขึ้นกรณีต้องการลดน้ำหนัก
การออกกำลังกายควบคู่กับการควบคุมอาหาร สามารถช่วยได้เมื่อออกกำลังกายติดต่อกันประมาณ 15-20 นาทีขึ้นไปร่างกายจะหลั่งสารเอนดอรฟีนออกมาทำให้จิตใจสบาย ออกซิเจนไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกายและจิตใจทำให้หลับสนิทและหลับนานข้อควรระวังในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันจะเป็น การส่งเสริมสุขภาพให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ทั้งนี้ ต้องมีความเหมาะสมทั้งวิธีการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสมก็อาจให้โทษได้เช่นกัน จึงมีข้อควรระวังดังนี้ควรออกกำลังกายให้เหมาะสมกับอายุ เพศ และสภาพร่างกาย เช่น คนสูงอายุการเดินเร็ว ๆ ดีที่สุด คนวัยทำงานการวิ่งเหยาะ ๆ สามารถทำได้ง่ายและประหยัด เด็กการวิ่งเล่นเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุด เป็นต้น ยกเว้นกรณีการเจ็บป่วย พิการ การออกกำลังกายก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ควรเป็นรูปแบบเฉพาะแล้วแต่กรณีควรออกกำลังกายให้ถูกเวลา เช่น เช้า เย็น หรือค่ำ ไม่ควรออกกำลังกายในเวลาที่มีอากาศร้อนจัด จะทำให้ไม่สบายได้ และควรออกกำลังกายก่อนอาหาร หรือหลังอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
ไม่ควรออกกำลังกายเวลาที่ไม่สบาย เป็นไข้ เพราะอาจจะทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หรือเวลาที่ท้องเสีย เพราะร่างกายจะขาดน้ำหรือเกลือแร่ทำให้อ่อนเพลีย เป็นลม เป็นตะคริว หรือโรคหัวใจได้ก่อนและหลังการออกกำลังกายทุกครั้ง ควรอบอุ่นร่างกาย และผ่อนคลายร่างกาย เพราะจะช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บและช่วยทำให้อาการเมื่อยล้าหายได้เร็วขึ้นการเลือกใช้อุปกรณ์ในการออกกำลังกายให้เหมาะสม เช่น ไม่สวมรองเท้าหนัง หรือรองเท้าแตะ หรือไม่สวมรองเท้า ในขณะออกกำลังกาย ควรสวมรองเท้าผ้าใบเพราะจะช่วยให้เกิดการยืดหยุ่นได้ในขณะออกกำลังกาย และยังช่วยลดแรงกระแทกขณะออกกำลังกายได้อีกด้ว
สื้อผ้าที่สวมใส่ขณะออกกำลังกาย ควรเป็นเสื้อผ้าที่ยืดหยุ่นได้ ระบายความร้อนได้ดี เช่นผ้าฝ้ายในขณะออกกำลังกาย งดสูบบุหรี่ หรือดื่มสุรา เพราะแอลกอฮอล์เป็นยาขับปัสสาวะ ซึ่งจะทำให้ร่างกายขาดน้ำมากยิ่งขึ้น ต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่จะทำให้ร่างกายได้รับอันตรายได้ง่ายเมื่อมีอาการเตือนที่แสดงว่าเริ่มมีอันตราย ควรหยุดออกกำลังกายทันที โดยไม่ฝืน เช่น เวียนศรีษะ เจ็บแน่นหน้าอก หายใจขัดผู้มีอายุวัยกลางคนขึ้นไป (40 ปี) ควรต้องได้รับการตรวจสุขภาพรวมทั้งการทดสอบ การออกกำลังกายก่อนสำหรับผู้สูงอายุ (อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป) ควรระมัดระวังมากกว่าคนอายุน้อย โดยเริ่มออกกำลังกายที่เบามากก่อน ส่วนการเพิ่มความหนักนั้นต้องเพิ่มช้ากว่าคนอายุน้อยการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายหรือ เล่นกีฬาเกิดขึ้นได้เสมอ การปฐมพยาบาลและการรักษาเป็นเรื่องสำคัญมาก
ตัวอย่างการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ เพื่อให้ได้ผลทางการเสริมสร้างความสมบูรณ์ของร่างกายด้านความอดทนของปอด หัวใจ และระบบไหวเวียนเลือด รวมทั้งความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความอ่อนตัวของข้อต่อ ควรฝึกกิจกรรมเหล่านี้ให้ต่อเนื่องกันอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละครั้ง ๆ ละอย่างน้อย 20 นาที ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งมีตัวอย่างการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ดังนี้เดินเร็ว ๆ หรือวิ่งเหยาะอย่างน้อยวันละ 30 นาที / วิ่งอย่างน้อยวันละ 20 นาทีถีบจักรยานอย่างน้อยวันละ 20 นาที / เต้นแอโรบิกอย่างน้อยวันละ 20 นาทีการว่ายน้ำหรือการบริหารในน้ำอย่างน้อยวันละ 20 นาทีเล่นกีฬาอย่างน้อยวันละ 30 นาที / กายบริหารในผู้สูงอายุอย่างน้อยวันละ 40 นาที
ที่มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น